top of page

Lre 

Lre (อี-รี) หมายถึง การไปต่อ ซึ่งการไปต่อของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน โดยเราจะพูดถึงมุมมองการไปต่อทางดนตรี ไม่เพียงแต่เราเรียนจบเท่านั้น การศึกษายังคงต้องไปต่อ การผจญภัยในโลกของดนตรียังคงดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ ดนตรีไม่มีที่สิ้นสุด การเรียนรู้อยู่ที่เราจะทำมันต่ออย่างไร คอนเสิร์ตนี้เป็นการถ่ายทอดมุมมอง การไปต่อทางด้านดนตรีของตัวผู้เล่น และได้มีการสัมภาษณ์คนที่เรียนดนตรี เพื่อที่จะได้เห็นถึงมุมมองของแต่ละคน ไม่เพียงแต่มุมมองของผู้เล่นเท่านั้น...

สำหรับการไปต่อของเรานั้น คือ ดนตรี ความรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด ประสบการณ์ที่สอนเราตลอดเวลา อย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยรีไซทอลนี้จะนำเสนอการเดินทางที่ไม่มีที่สิ้นสุดของดนตรีซึ่งจะถ่ายทอดผ่านบทเพลง Concerto No.4 in D Minor ของ Vieuxtemps โดยเป็นประสบการณ์ทางดนตรีตั้งแต่เข้ามาศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย...

Vieuxtemps

Violin Concerto No.4

in D Minor op.31

I. Andante

เปิดขึ้นอย่างเงียบ ๆ เกือบจะลึกลับซึ่งมีลักษณะคล้ายการร้องเพลงประสานเสียง นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของบทนำ ละจากนั้นค่อยๆสร้างความเร็วความดังและความรุนแรงโดยใช้ทองเหลืองและทิมปานีที่เสริมความแข็งแกร่งและมีจังหวะที่เคร่งขรึมและเริ่มเข้าสู่ช่วงโซโล่ ซึ่งเป็นการโชว์เทคนิคที่แพรวพราว การสีคอร์ดในช่วงเริ่มต้น ต่อด้วยการบรรเลงอย่างไพเราะ เป็นทำนองที่น่าหลงไหล Moderato เป็นธีมที่อ่อนโยนที่สุดในท่อนที่ 1 ก่อนที่จะเข้าสู่ การเล่นคู่ 8 ที่เร้าร้อนและจบด้วยการเล่นคาเดนซ่า 

ท่อนที่ 1 เป็นท่อนที่บอกเล่าเรื่องราวการเริ่มต้นสิ่งใหม่ในรั้วมหาวิทยาลัย การเกิดความคิดใหม่ การผ่านอุปสรรค์ต่างๆที่ไม่เคยพบเจอ ประสบการณ์ใหม่ๆ โดยช่วงเริ่มต้นของเพลงจะเป็นการคลอทำนองมาเรื่อย ๆ ซึ่งทำให้นึกถึงความไม่รู้ว่าสิ่งที่จะเจอเป็นอย่างไร โดยบทเพลงก็ดำเนินมาเรื่อยๆจนเข้าสู่ช่วงโซโล่ซึ่งมีการใช้เทคนิคที่แพรวพราวในการสีคอร์ดต่างๆ เปรียบเสมือนอุปสรรค ที่เราต้องข้ามผ่านไปให้ได้ในช่วงปี 1 จนถึงช่วงคาเดนซ่า ซึ่งมันคือบทสรุปของทุกสิ่ง เราได้รู้อะไรมากขึ้น เราสามารถที่จะนำสิ่งที่เราได้เรียนรู้มาใช้ต่อได้ ซึ่งมันคุ้มค่า ถึงแม้จะมีท้อแท้ เสียน้ำตา แต่ปลายทางสุดท้ายก็คือความสุขที่ได้จากประสบการณ์นั่นเอง 

II. Adagio religioso

รอยต่อระหว่างท่อนที่ 1 และ 2 จะมีการเชื่อมด้วยโน้ตฮอร์นเชื่อมโยงไปยังท่อนที่ 2 Adagio Religioso และรับช่วงต่อของช่วงโซโล่ นักไวโอลินใช้เสียงที่อบอุ่นเล่นอาพิจิโอ้ ของคีย์  G Major อย่างช้า ๆ ก่อนจะเข้าสู่ตัวบทเพลงอย่างแท้จริง มีการเคลื่อนไหวของตัวโน้ตที่นุ่มนวล โดยท่อนนี้จะมีการใช้เสียงที่สูงมาก จึงเป็นการโชว์เทคนิคการเล่นที่น่าทึ่ง และไพเราะมาก ก่อนจะจบลงอย่างสวยงามด้วยการใช้ตัว Eb ที่สูงมากๆนั่นเอง

ท่อนที่ 2 เป็นการสานต่อจากท่อนแรกด้วยตัวเพลงมีการเชื่อมโยงของวงออร์เคสตราที่ดำเนินทำนองเชื่อมโยงมาสู่ท่อนที่ 2 ซึ่งท่อนนี้ให้อารมณ์ของนุ่มนวลด้วยตัวบรรไดเสียงเป็นบรรไดเสียงทางเมเจอร์ เปรียบเสมือนการดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ประสบการณ์ได้ถูกสั่งสมมาเรื่อยจนได้มาพบกับประสบการณ์ใหม่ วง Outlaw String Quartet ซึ่งเป็นวงดนตรีที่ถูกสร้างขึ้นจากเพื่อน ๆ ทั้งหมด 4 คน กร แนน เกว และ พี่จ๋า วงนี้ทำให้เราได้รู้จักกับความว่า ความสุขของดนตรีที่ไร้ขอบเขต วงนี้ได้นำพาเราไปสู่การเดินทางใหม่ ๆ เปรียบเสมือนกับทวงทำนองที่ดำเนินไปอย่างช้า ๆ เหมือนการเติบโตของวง และคนในวง เราได้นำพาดนตรีไปสู่ผู้คนต่าง ๆ มากมาย...

Outlaw String Quartet

III.Vivace

เป็น scherzo และ trio ในส่วนของ scherzo นั้น จะมีการใช้จังหวะและตัวโน้ตที่คล่องแคล่ว ว่องไว เป็นการแสดงความว่องไวในการเล่น ส่วนในช่วงของ Trio เปรียบเสมือนการผ่อนคลาย มีการใช้ดับเบิ้ลสต็อปมาเพื่อเพิ่มความอบอุ่นของเสียง และค่อยกลับเข้าสู่ช่วงของ scherzo อีกครั้ง

ท่อนที่ 3 จะมีความสนุกสนานด้วยตัวจังหวะที่รวดเร็ว เปรียบเสมือนการเดินทางของเรา ซึ่งพอเราเรียนมาถึงช่วงเวลาปี 3 เราก็ได้เรียนรู้มากกว่าเดิม และต้องทำอะไรรวดเร็วกว่าเดิม นำความรู้ ประสบการณ์ที่เคยได้มาใช้อย่างคุ้มค่า ส่วนวง Outlaw ก็ไ้ด้ท่องเที่ยวอย่างสนุกสนานเช่นกัน เราได้ไปจังหวัดเลย อุดรธานี ซึ่งเราได้นำดนตรีที่เรามีเผยแพร่ให้กับผู้คนมากมาย เขาได้ประสบการณ์การณ์ใหม่ เราก็ได้ประสบการณ์ใหม่เช่นกัน ซึ่งเหมาะกับตัวเพลงของท่อนนี้มาก ต่อมาท่อนนี้จะมีช่วง Trio ซึ่งเป็นช่วงหยุดพัก ซึ่งเปรียบเสมือนการที่เราพักการท่องเที่ยวและกลับมาเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อีกครั้ง เราได้กลับมาสู่การซ้อมที่จริงจัง เราได้เจอกับแอดคอม(ผู้เล่นแนวบรรเลงประกอบ)ที่ดีมาก ๆ พี่กอล์ฟ ซึ่งเราเข้ากันได้ดี  เราได้เรียนรู้การเล่นด้วยกัน ก่อนจะออกไปสนุกอีกครั้งในช่วงสุดท้ายของท่อน

IV.Finale Marziale

เริ่มต้นด้วยวงออร์เคสตราและเข้าสู่ช่วงบรรเลงเดี่ยวอีกครั้งโดยมีอารมณ์ที่สนุกสนาน ร่าเริง แต่เป็นการโชว์เทคนิคไวโอลินที่ยากที่สุดในเพลงนี้ การใช้คอร์ดที่ต้องเล่นพร้อมกันทั้งหมดสี่สาย มีเทคนิคที่คล้ายคลึงกับปากานินี่ มีการใช้เทคนิคเกือบทุกอย่าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายมากสำหรับตัวผู้เล่น 

ท่อนที่ 4 เป็นจุดสุดท้ายของการเรียนรู้ในรั้วมหาวิทยาลัย เราได้รวบรวมสิ่งที่เรียนทั้งหมด มาใช้ในท่อนนี้ เทคนิคต่างๆมากมายที่ได้เรียนรู้ในรั้วมหาลัยได้นำมาใช้ทั้งหมด เป็นท่อนที่เปรียบเสมือนความท้าทายในการใช้ชีวิต การที่เราจะต้องออกไปเจอโลกที่แท้จริง โลกความจริงที่มีทั้งความทุกข์ ความสุขและที่สำคัญคือความจริง ความจริงที่ว่าโลกไม่ได้สวยงาม เราต้องเอาตัวรอดจากโลกภายนอกให้ได้ แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ดนตรีก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของความสุข เมื่อเราได้ย้อนความหลัง เราก็จะเจอความสุขมากมายที่เกิดมาจากดนตรี ดนตรีพาเราได้เจอกับผู้คนมากมาย ได้เจอกับประสบการณ์มากมาย ไม่ใช่แค่การเล่น การฟัง การร่วมชม ก็ถือเป็นความสุขได้เช่นกัน สรุปคือ ท่อนนี้ถือเป็นบทสรุปของดนตรีที่ไม่มีที่สิ้นสุดนั่นเอง

bottom of page