top of page

III. Finale. Allegro energico 

    ท่อนที่สามของคอนแชร์โตบทนี้อยู่ในสังคีตลักษณ์โซนาตา  ตอนนำเสนอจะอยู่ในห้อง 1-179 โดยจะมีทำนองหลักอยู่ 2 ทำนอง คือห้องที่ 1-104 โดยลักษณะของทำนองที่ 1 จะมีจังหวะที่เร็ว สนุกสนาน และทำนองหลักที่ 2 ในห้อง 115-179 โดยลักษณะของทำนองหลักที่ 2 จะมีลักษณะจังหวะที่ช้า แตกต่างออกไปจากทำนองหลักที่ 1 ส่วน accompaniment จะนำแนวทำนองหลักมาเล่นอยู่เรื่อยๆ อาจจะมีการเปลี่ยนโน้ตบ้างเล็กน้อย ท่อนนี้อยู่ในคีย์ G เมเจอร์ โดยลักษณะของท่อนนี้จะมีอารมณ์เพลงที่ สนุกสนาน ร่าเริง เพลงคล้ายกับการเต้นรำหรือเพลงพื้นบ้านเพราะ ผู้ประพันธ์ได้นำแนวคิดมาจากเพลงดนตรีพื้นบ้านนั่นเอง 

31111.png

Bruch’s Violin Concerto No.1 - III. Finale - Allegro energico: ทำนองหลักที่ 1

32.png

Bruch’s Violin Concerto No.1 - III. Finale - Allegro energico: ทำนองหลักที่ 2

   ตอนพัฒนา จะอยู่ในห้องที่ 180-279 ซึ่งได้พัฒนามาจากตอนนำเสนอ โดยจะมีการแต่งให้มีโน้ตประดับ การไล่บันไดเสียง (ในวงกลมสีแดง) การพลิกกลับ เพิ่มเข้ามา เพื่อให้แตกต่างจากตอนนำเสนอ แต่ยังคงนำแนวคิดของตอนนำเสนอมา

33.png

Bruch’s Violin Concerto No.1 - III. Finale - Allegro energico: ตอนพัฒนา ห้อง 180-279 

   ตอนย้อนความ จะอยู่ในห้องที่ 280-331 โดยนำทำนองหลักที่ 1 ในตอนนำเสนอมาย้อนความ โดยมีการเปลี่ยนโน้ตเล็กน้อย เพิ่มการไล่บันได้เสียงขึ้นมา เพื่อเป็นการโชว์เทคนิคการเล่นไวโอลิน และเพื่อบอกถึงตัวเพลงว่าใกล้จบแล้ว โดยจะมีช่วงเร่งจังหวะในห้องที่ 321 เพื่อนำไปสู่การจบบทเพลงที่สมบูรณ์

Bruch’s Violin Concerto No.1 - III. Finale - Allegro energico: ตอนย้อนความ ห้องที่ 280-331

Bruch’s Violin Concerto No.1 - III. Finale - Allegro energico: ห้องที่ 321 จะมีการเร่งจังหวะขึ้นโดยใช้จังหวะ Presto เพื่อบ่งบอกว่าเพลงใกล้จบแล้ว

จุดเด่นของท่อนนี้คือจังหวะแบบเพลงพื้นบ้าน จึงทำให้อารมณ์ของเพลงมีความสนุกสนาน มีชีวิตชีวาตลอดเวลา 

bottom of page