
I. Vorspiel. Allegro moderato
ท่อนแรกของคอนแชร์โตบทนี้อยู่ในสังคีตลักษณ์โซนาตา ตอนนำเสนอ (ห้องที่ 1-74) ประกอบด้วย 2 Theme ได้แก่ Themeที่ 1 ห้องที่ 1-44 อยู่ในกุญแจเสียงโทนิก G ไมเนอร์ และ Themeที่ 2 ห้องที่ 45-74 อยู่ในกุญแจเสียงโดมินันท์ D ไมเนอร์

Bruch’s Violin Concerto No.1 -I. Vorspiel. Allegro moderato: Themeที่ 1 ห้องที่ 1-44 อยู่ในกุญแจเสียงโทนิก G ไมเนอร์

Bruch’s Violin Concerto No.1 -I. Vorspiel. Allegro moderato: Themeที่ 2 ห้องที่ 45-74 อยู่ในกุญแจเสียงโดมินันท์ D ไมเนอร์
ลักษ ณะจังหวะสำคัญของคอนแชร์โตบทนี้จะให้ความรู้สึก ลุ่มลึก ดุดัน การที่ตัวโน้ตเคลื่อนที่ไปข้างหน้าตลอดเวลา โดยลักษณะจังหวะนี้จะปรากฎให้เห็นอยู่ตลอดในคอนแชร์โตท่อนที่ 1

ตอนพัฒนา (ห้องที่75-140) ซึ่งนำแนวความคิดมาจากตอนนำเสนอทั้ง 2 Theme มาพัฒนาขยายความในกุญแจเสียงต่างๆ โดยใช้เทคนิคการแปร การปรับโน้ต การเพิ่มตัวโน้ต และการพลิกกลับ

Bruch’s Violin Concerto No.1 -I. Vorspiel. Allegro moderato: ตอนพัฒนา (ห้องที่75-140)
ในตอนพัฒนานี้จะมีช่วง Climax ของคอนแชร์โตท่อนนี้ คือห้องที่ 90-140 และค่อยๆลงมาเข้าสู่ตอนย้อนความในห้องที่ 141-147

Bruch’s Violin Concerto No.1 -I. Vorspiel. Allegro moderato: ช่วง Climax ห้องที่ 141-147
ตอนย้อนความ (ห้องที่144-147) เทียบได้กับตอนนำเสนอ โดยอยู่ในกุญแจเสียงโทนิกเช่นเดียวกับที่ปรากฎในตอนนำเสนอ แต่มีการเพิ่มโน้ตนอกคอร์ดต่างๆเข้ามาทำให้ดูหวือหวามากขึ้น

Bruch’s Violin Concerto No.1 -I. Vorspiel. Allegro moderato: ตอนย้อนความ (ห้องที่144-152)
ส่วนในห้องที่ 148-153 เป็น Cadenza โดยจะมีลักษณะส่งเข้า Coda ในห้องที่ 154 เพื่อเข้าสู่ท่อนที่ 2 ของบทเพลงต่อไป

Bruch’s Violin Concerto No.1 -I. Vorspiel. Allegro moderato: ห้องที่ 148-153 เป็น Cadenza