top of page

มุมมองของเพื่อนๆที่มีต่อการเดินทางของดนตรี

เราได้มีการตั้งคำถามต่าง ๆ เพื่อให้เพื่อนๆตอบ ซึ่งจะเป็นคำถามที่เกี่ยวกับการเดินทางของดนตรีของแต่ละคน โดนจะเริ่มตั้งแต่จุดเริ่มต้นของดนตรี จนสุดทางก่อนเรียนจบว่ารู้สึกเป็นอย่างไร ซึ่งจุดประสงค์ในการถามนั้นต้องการที่จะเห็นมุมมองของคนอื่นๆเพื่อทำให้เห็นถึงความต่างของแต่ละคน ไม่เพียงแต่เห็นแต่มุมมองของตัวผู้แสดงรีไซทอลอย่างเดียว เเต่สามารถเห็นมุมมองของคนอื่น ๆ ได้อีกด้วย 

เราได้นำเพื่อน ๆ ที่เรียนดนตรีในรั้วมหาลัย ในชั้นปีที่ 4 ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับตัวผู้เล่น เป็นผู้ที่จะกำลังเรียนจบ และมีมุมมองที่จะไปต่อทางด้านดนตรี

Pleng

Art

Music

119672448_3308029499304678_7219281254674

Eigkiw

คำถาม

1.อะไรที่ทำให้คุณเริ่มเล่นดนตรี? และอะไรทำให้คุณเล่นดนตรีมาถึงทุกวันนี้

 

2.คิดว่าตัวเองคิดถูกไหมที่เลือกเรียนดนตรี?

 

3.ประสบการณ์ดนตรีอะไรที่คุณประทับใจที่สุด เพราะอะไร

 

4.ดนตรีให้ความสุขกับคุณจริงหรือไม่?

 

5.ดนตรีได้พาคุณไปที่ไหนบ้าง บอกเล่าประสบการณ์การเดินทางดนตรีของคุณ

 

6.แล้วดนตรีให้อะไรกับคุณบ้าง?

 

7. อยากทราบว่ามุมมองความรู้สึกที่มีต่อดนตรีระหว่างก่อนเข้ามาเรียนกับตอนเรียน

จบแล้วเป็นอย่างไร?

 

8.ถ้าคุณเรียนจบ คุณจะเดินต่อกับดนตรีหรือไม่ เพราะอะไร และถ้าคุณเดินต่อ คุณจะทำอะไร ถ้าไม่เดินต่อจะไปทำอะไร

 

9.ถ้าไม่ได้เรียนดนตรี ตอนนี้คุณคิดว่าคุณจะทำอะไรอยู่?

 

10.ระหว่างคนที่เรียนดนตรีและเล่นดนตรีกับคนที่ไม่เรียนดนตรีและเล่นดนตรี คุณคิดว่าจะมีความต่างกันอย่างไร คุณคิดว่าใครมีความสุขกว่ากัน?

 

บทสรุปของ Lre

ทุกคนมีจุดเริ่มต้นของการเล่นดนตรีที่น่าประทับใจ ทุกคนมีจุดเริ่มต้นมาจากการที่ได้ฟัง ได้ดู ดนตรี ไม่ว่าจะรูปแบบไหนก็ตาม พอดีแล้วเกิดความชอบ และอยากที่จะเล่นมัน ในช่วงเวลาของชีวิตของพวกเขา พวกเขาได้เรียนรู้ดนตรีหลากหลาย และได้ตัดสินใจเลือกที่จะเรียนต่อทางด้านดนตรี เพื่อให้มีความชำนาญมากยิ่งขึ้น แต่พอได้มาเรียนแล้ว กลับทำให้ได้รู้ว่า ดนตรีมีมากกว่าสิ่งที่เราฟังกันอยู่ทุกวันนี้ ไม่เพียงแค่ฟังและเล่นมันออกมา แต่เราต้องเข้าใจถึงดนตรีที่แท้จริง ว่ามาจากอะไร ทำไมถึงเกิดเสียงนี้ กว่าจะมาเป็นดนตรีในทุกวันนี้ มันผ่านการเปลี่ยนแปลงมามากหน่อยแค่ไหน ซึ่งทำให้พวกเราที่เป็นนักดนตรีรู้ซึ่งมากยิ่งขึ้น การเรียนดนตรีไม่ใช่แค่จะมีแต่ความสุข เอาจริง ๆ แล้ว ดนตรีก็เหมือนกับการเรียนวิชาสามัญ ที่จะต้องมีการเขียน มีการศึกษาประวัติศาสตร์ จริง ๆ ดนตรีคือทุกสิ่งของมนุษย์ มันถูกรวมมาไว้ในวิชาดนตรี เพราะดนตรีคือชีวิต 

การเรียนดนตรี มักจะมีความกดดันไม่ต่างจากคณะอื่น ๆ เลย เราจะต้องซ้อมทุกวัน อยู่ในห้องซ้อมวันละไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง ซึ่งมันถือว่าอึดอัดใช้ได้เลย และไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่เราจะเล่นดนตรีออกมาได้ดี พอเราเรียนดนตรีแล้ว มันกลับทำให้เราต้องเล่นให้ดี ไม่ใช่เล่นแบบทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ อันนี้ก็ถือว่าเป็นความกดดันขั้นสุดเลยก็ว่าได้ เพราะเราจะต้องเล่นให้อาจารย์ที่มีความรู้ฟัง คนฟังดนตรีเป็นจะสามารถรู้ทันทีว่าเราเล่นดีหรือไม่ดี ซึ่งสิ่งนี้ กลับทำให้ดนตรีเป็นสิ่งที่กดดันมาก ๆ เช่นกัน ซึ่งถามว่า เลือกเรียน หรือ ไม่เลือกเรียน จริง ๆ ก็อยากตอบว่า ไม่เลือกดีกว่า เพราะการที่เราเล่นดนตรีโดยความไม่รู้ อาจจะมีความสุขกว่าการเล่นดนตรีแบบคนมีความรู้เล่นก็ได้

พอดนตรีมันกลายมาเป็นความกดดัน ทุกคนก็เกิดความเครียด ไม่อยากเล่น และไม่มีความสุขที่จะเล่นมันอีกต่อไป บางคนกลับอยากจะเลิกเล่นดนตรีและไปทำอย่างอื่นเลย บางคนก็อยากจะเล่นดนตรีต่อ และบางคนอาจจะอยากเรียนต่อ ทุกคนต่างมีเป้าหมายที่เปลี่ยนไป จากเดิมที่ชอบดนตรีมาก ๆ กลับกลายเป็นความไม่ชอบ...

เราที่เป็นนักดนตรีที่ศึกษาดนตรี เวลาไปดูดนตรีที่ผู้เล่นไม่ค่อยจะเล่นดีสักเท่าไหร่ เราก็จะฟังออกทันที แต่เชื่อไหมว่า พวกเขาอาจจะไม่รู้ว่าตัวเองเล่นเพี้ยน เล่นหลุด แต่พวกเขากลับมีความสุขมากกว่าพวกเราที่เล่นดนตรีซะอีกนะ...

มุมมองของเรา...

เราที่เรียนดนตรีตั้งแต่ประถมต่างมีความรู้สึกมากมายที่มันช่างแตกต่างจากตอนนี้ ตอนนั้นเราเล่นเพราะความสนุกความเท่ แต่พอเราเริ่มโตขึ้น เราก็มาเรียนต่อด้านดนตรีที่โรงเรียนมัธยมซึ่งก็ถือว่าเครียดแล้ว เพราะว่ามันยากขึ้น ต้องมีการสอบทุกเทอม เรียนเดี่ยวกับคุณครู ซึ่งก็ถือว่ากดดันมาก ๆ แล้ว แต่ก็ยังมีความสุขที่ได้เรียน เพราะเวลาคุณครูให้อะไรมาเราสามารถทำได้เกือบทั้งหมด แต่พอเราเริ่มจะเข้ามหาลัย เราก็ถามตัวเองหลายครั้งเหมือนกัน ว่าเราจะต่อดนตรีจริง ๆ ใช่ไหมเอาแน่ ๆ นะ เพราะมันต้องกดดันมากเป็นหลายร้อยเท่าแน่ ๆ ตอนก่อนสอบเข้ามหาลัย เราโดนอาจารย์กดดันมาก ๆ เหมือนกัน เล่นเพี้ยนจัง เล่นแบบนี้จะสอบได้ไหมอะ ? ซ้อมอีก ทำไมทำได้แค่นี้ ตอนนั้นก็ถือว่าเกือบถอดใจแล้วเหมือนกัน แต่พอถึงวันที่เราได้สอบ เราก็ได้ข้อคิดจากพี่ที่มาแอคคอมเรา เขาให้กำลังใจเราดีมาก ๆ จนเราสอบติดที่มหาลัย และได้มาเรียนไวโอลินอย่างจริงจังมากกว่าเดิม ซึ่งมันก็ตรงตามที่เราคิด มันหนักมาก หนักแบบว่าเหนื่อย เอาเป็นว่าเราหาความสุขจากดนตรีแทบไม่ได้เลย แต่เราก็พยายามเริ่มต้นใหม่ในทุก ๆ วัน ก้าวผ่านจุดนั้นไปให้ได้ ให้กำลังใจตัวเอง ต่อสู้ จนมันมีอยู่วันหนึ่งที่เรามานั่งคิดว่า เอ๊ะ ดนตรีมันเครียดขนาดนี้เลยหรอ เราเปลี่ยนไปมาก นิสัย อารมณ์ ทุก ๆ เรื่อง มันเปลี่ยนเราหมดเลย เมื่อก่อนเราเป็นคนที่อารมณ์ดีนะ แต่พอเจอความกดดันมาก ๆ เราก็เริ่มเหนื่อยกับมัน และเราอยากพอทุกเวลา เราคิดว่าเราจะเรียนไปทำไม ทำไมต้องเหนื่อยแบบนี้ แต่พอเรามาถึงจุดที่เราหันกลับมามองโดยรวม เราพบว่า การเล่นไวโอลินของเราดีขึ้นกว่าแต่ก่อน สิ่งที่เราไม่คิดว่าเราจะเล่นได้ กลับกลายเป็นว่าเล่นได้ แบบไม่คิดว่าจะเล่นได้ สิ่งที่คอยกดดันเรานำพามาซึ่งความสำเร็จซึ่งเราคิดว่า เราควรมองมุมอื่น ๆ ด้วย ที่กดดันเพราะอยากให้เราได้ ถ้าเรามองด้านเดียว เราก็จะเป็นทุกข์ แต่ถ้าเกิดเรามองไปรอบ ๆ เราก็จะเจอกับความสุขเช่นกัน พอเราจะเรียนจบนั้นเราก็จะเห็นอีกมุมหนึ่งว่ามันช่างน่าเสียดายที่เรายังทำได้ไม่เต็มที่หรือมากพอ เพราะเรามัวแต่โฟกัสจุดที่ให้ความทุกข์กับเรา แต่ถ้าเราลองโฟกัสให้ถูกจุด เราก็จะได้อะไรจากมันเยอะมาก...

แล้วคุณละ? คิดว่าดนตรีเป็นอย่างไร...

bottom of page